ระบบบริหารคุณภาพ

ลูกค้าของบริษัท ทั้งบริษัทน้ำมัน และสายการบินได้รับการบริการที่ได้คุณภาพในระดับมาตรฐานสากล มีความปลอดภัยสูงสุด ตรงต่อเวลา และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อันเป็นปรัชญาการทำงานของบริษัท

นโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์คุณภาพ

คณะผู้บริหารและพนักงานของ BAFS ทุกคน มีความมุ่งมั่นที่จะเติมเต็มโลกด้วยธุรกิจที่ยั่งยืน โดยส่งมอบคุณค่าด้วย คุณภาพ ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง มีกระบวนการวางแผน ควบคุม ตรวจติดตาม ประเมินผล และปรับปรุง ระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า และตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยจะเน้นการบรรลุวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ

  1. การให้บริการน้ำมันอากาศยานที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล
  2. การให้บริการที่ตรงต่อเวลา และมีความปลอดภัยสูงสุด
  3. การให้บริการโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  4. การปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ

เพื่อให้บรรลุถึงนโยบายคุณภาพดังกล่าว บริษัทได้กำหนดวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ดังนี้

วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ

BAFS มุ่งมั่นการปฎิบัติงานที่เป็นไปตามระบบบริหารคุณภาพ โดยจะเน้นการบรรลุวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ

  1. ให้ความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยปราศจากคำร้องเรียนหรือได้รับคำร้องเรียนจากลูกค้าอย่าง เป็นทางการไม่เกิน 1 ครั้งต่อไตรมาส
  2. การให้บริการที่ตรงต่อเวลา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99.99 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 99.90 ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง เทียบกับจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการทั้งหมดต่อปี
  3. การให้บริการด้วยความปลอดภัย ไม่มีอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับการให้บริการโดยตรงต่ออากาศยาน
  4. ควบคุมกระบวนการด้านปฎิบัติการ (Operation) ให้ไม่มีผลกระทบต่อความไม่สอดคล้อง ตามข้อกำหนด หรือกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม

ระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

นโยบายความปลอดภัยและวัตถุประสงค์

นโยบายความปลอดภัย

นโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย การรักษาความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับ จัดเก็บ และให้บริการน้ำมันอากาศยาน ตระหนักถึงความสำคัญของ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในการดำเนินธุรกิจ จึงกำหนดนโยบาย ดังต่อไปนี้

นโยบาย HSSE

พัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สอดคล้องตามกฎหมาย รวมถึงมาตรฐานสากล และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่บริษัทนำมาประยุกต์ใช้

นโยบาย HSSE

ควบคุม ปรับปรุง ป้องกันและแก้ไขอันตรายจากการดำเนินงานของบริษัท ที่มีระดับความเสี่ยงตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป ซึ่งมีผลกระทบต่อพนักงาน ทรัพย์สินของบริษัท ชุมชน และสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนางานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างต่อเนื่อง

นโยบาย HSSE

ปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัท และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความปลอดภัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นโยบาย HSSE

ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของบริษัทในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

นโยบาย HSSE

พัฒนาพนักงานของบริษัท ให้มีความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ มีความรู้ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งในงานและนอกงาน

นโยบาย HSSE

ให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินการตามระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีว อนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นโยบาย HSSE

ให้การรักษาความปลอดภัยแก่ชีวิตพนักงาน ผู้ปฏิบัติงาน และทรัพย์สินในพื้นที่ความรับผิดชอบของบริษัท ตลอดจนทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ทันต่อสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ

1 / 7

วัตถุประสงค์ระบบบริหารการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO45001)

  1. พนักงานปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย มีอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีโดยไม่เกิด อุบัติเหตุรุนแรงถึงขั้นหยุดงานติดต่อกันเกินกว่า 3 วันทำงานขึ้นไป
  2. พนักงานไม่มีโรคจากการทำงานอันมีผลให้พนักงานสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายอย่างถาวร

ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

บริษัทมีแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจโดยกําหนดเป็นนโยบาย การบรหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ พร้อมทั้งการป้องกันภัยคุกคามที่อาจส่งผลต่อการหยุดชะงักของกิจการ เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ตลอดจนการเพื่อทำให้มีความมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถฟื้นคืนกิจกรรมสำคัญให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด

นโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและวัตถุประสงค์ด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจหลักในการให้บริการน้ำมันอากาศยาน ตามมาตรฐานสากลโดยมุ่งเน้นการส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัท เพื่อเติมเต็มโลกด้วยธุรกิจที่ยั่งยืน โดยการส่งมอบคุณค่าด้วยคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม

ฝ่ายบริหารจึงกำหนดนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางการสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจพร้อมทั้งป้องกันการเกิดภัยคุกคามที่ส่งผลต่อการหยุดชะงักเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ตลอดจนสามารถฟื้นคืนกิจกรรมสำคัญให้ได้ภายในกรอบเวลาที่กำหนดและสอดคล้องตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีนโยบายดังนี้

  1. บริษัทจะพัฒนาระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจตามมาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อให้การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจของบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้บริหารและพนักงานของ BAFS มีหน้าที่พัฒนาระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจตามบทบาทหน้าที่และขอบข่ายที่รับผิดชอบตามที่กำหนดในระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  3. ผู้บริหารทุกคน มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลักดันและสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ ตามกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ ความสามารถ ของบุคลากรเพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล
  4. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่จะทำให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

เพื่อให้บรรลุถึงนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ดังกล่าว บริษัทได้กำหนดวัตถุประสงค์ด้าน การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ดังนี้

วัตถุประสงค์ด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจหลักในการให้บริการน้ำมันอากาศยาน ตามมาตรฐานสากลโดยคำนึงถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นการส่งมอบคุณค่า แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างสมดุลครอบคลุมในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเติมเต็มโลกด้วยธุรกิจที่ยั่งยืน ซึ่งหมายรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถให้บริษัทสามารถตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียง ภาพลักษณ์และกิจกรรมที่สร้างคุณค่าของบริษัทตามระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้

  1. ป้องกันการเกิดภัยคุกคามที่ส่งผลต่อการหยุดชะงักเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ โดยสามารถทำการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่า 12 ครั้งต่อปีต่อพื้นที่ และฝึกซ้อม Full Scale หรือ ฝึกซ้อมแผน BCP อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. ฟื้นคืนกิจกรรมสำคัญเพื่อให้สามารถให้บริการเติมน้ำมันอากาศยาน ตามขีดความสามารถที่ยอมรับได้ขั้นต่ำ (Minimum Acceptable Capacity: MAC) ในเวลาและเป้าหมาย (Recovery Time Objective: RTO) ที่กำหนด ดังนี้
    1. การให้บริการ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สามารถให้บริการเติมน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 70 ของศักยภาพการให้บริการสูงสุดต่อวันของ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง
    2. การให้บริการ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง สามารถให้บริการเติมน้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 60 ของศักยภาพ การให้บริการสูงสุดต่อวันของท่าอากาศยานดอนเมือง ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง